วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550


















สถาปัตยกรรม หมายรวมถึง อาคารและสิ่งก่อสร้าง ต่าง ๆ รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องรอบ ๆ และภายในอาคารนั้น




องค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรม
จุดสนใจและความหมายของศาสตร์ทางสถาปัตยกรรมนั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
บทความ De Architectura ของวิทรูเวียส ซึ่งเป็นบทความเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ที่เก่าแก่ที่สุดที่เราค้นพบ ได้กล่าวไว้ว่า สถาปัตยกรรมต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสามส่วนหลักๆ ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวและสมดุล อันได้แก่
ความงาม (Venustas)
ความมั่นคงแข็งแรง (Firmitas)
และ ประโยชน์ใช้สอย (Utilitas)






สถาปัตยกรรมไทยตัวอย่างของสถาปัตยกรรมไทย ได้แก่
เรือนไทย ซึ่งมีรูปแบบแตกต่างกันในแต่ละภาค
วัดไทย รวมถึง อุโบสถ วิหาร หอระฆัง เจดีย์
พระราชวัง ป้อมปราการ







สถาปัตยกรรมตะวันตก
ตัวอย่างเช่น บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร ปราสาท ราชวัง ซึ่งมีทั้งสถาปัตยกรรมแบบโบราณ เช่น กอธิก ไบแซนไทน์ จนถึงแบบสมัยใหม่







สถาปัตยกรรม (Architecture) เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณ การตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้สร้างงานจำนวนมาก และเป็นงานศิลปะ ที่มีอายุยืนยาว สถาปัตยกรรม เป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และศิลปะ ความงดงาม และคุณค่าของสถาปัตยกรรม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้ คือ
1. การจัดสรรบริเวณที่ว่างให้สัมพันธ์กันของส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก 2. การจัดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย และสิ่งแวดล้อม 3. การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกลมกลืน
คลิ๊กที่รูป เพื่อดูภาพใหญ่
สถาปัตยกรรมแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ 1. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ หรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ 2. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างอื่น ๆ เช่น อนุสาวรีย์ เจดีย์ สะพาน เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม เรียนว่า สถาปนิก (Architect)
คลิ๊กที่รูป เพื่อดูภาพใหญ่
6 สถาปนิกภายหลังสถาปัตยกรรม ยุคโมเดิร์นหลุยส์ ไอ คาห์น: จากสารัตถะแห่งอดีตกาลโรเบิร์ต เวนทูรี่: ความซับซ้อนและความขัดแย้งปีเตอร์ ไอเซนแมน: ไดอะแกรมกับการสูญสลายของภาพลักษณ์เลบเบียส วู้ดส์: สงคราม เครื่องจักร และสถาปัตยกรรมมาร์คอส โนแวค: ศิลปินแห่งไซเบอร์สเปซเกร็ก ลินน์: ในเรือนร่างและความซับซ้อน
เส้นทางเดินของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ หรือโมเดิร์น (Modern architecture) ซึ่งพาดผ่าน ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จวบจนกลางศตวรรษที่ 20 ได้พลิกโฉมกระบวนทัศน์ของมนุษย์ ไปสู่ระบบการคิดและปฏิบัติในเชิงจักรกล อีกทั้งยังเชิดชู 'สุนทรีภาพของจักรกล' ขึ้นมาแทนคุณค่าของ 'มนุษย์' อย่างหมดสิ้น เป็นชั่วขณะหนึ่ง ที่สถาปัตยกรรมได้ถูกสรรค์สร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่ดั่งเครื่องจักร ในการตอบสนองพฤติกรรม และชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคม ภายใต้แก่นความคิดหลักที่ขนานนามกันว่า 'เหตุผลนิยม (Rationalism)' มากไปกว่าการมุ่งตอบสนองในเชิงศิลปะ หรือศรัทธาทางศาสนาดังเช่นอดีต ต้นกำเนิดของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นนั้น อาจเป็นไปตามที่เจอร์เก้น ฮาแบร์มัส (Jurgen Habermas) นักปรัชญาชาวเยอรมันได้กล่าวไว้ว่า เกิดจากผลกระทบ ของการปฏิวัติอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อันท้าทายต่อรูปแบบสถาปัตยกรรม3 ประการ คือ
1. ความต้องการใหม่เชิงคุณภาพ ในการออกแบบสถาปัตยกรรม2. วัสดุใหม่ และเทคนิคในการก่อสร้าง3. การโอนอ่อนของสถาปัตยกรรม ต่อประโยชน์ใช้สอยใหม่ๆ
สถาปนิกตะวันตกจำนวน 6 ท่าน (หลุย ไอ คาห์น, โรเบิร์ต เวนทูรี่, ปีเตอร์ ไอเซนแมน, เลบเบียส วู้ดส์, มาร์คอส โนแวค และเกร็ก ลินน์) ในหนังสือเล่มนี้ เป็นตัวแทนของความเคลื่อนไหวในสถาปัตยกรรม ที่พยายามนำเสนอคำตอบ หรือบทวิพากษ์ ต่อสกุลความคิดแบบโมเดิร์น (a critique of Modernism) ในหนทางที่แตกต่างกัน อันถือเป็นความเคลื่อนไหวในช่วงท้ายสุด ก่อนที่ทศวรรษที่ 20 ล่วงพ้นไป นักคิดเหล่านี้ ต่างช่วยกันผลักดันสถาปัตยกรรม ให้หลุดพันไปจากหนทางอันตีบตันเดิมๆ ถึงแม้ว่าบางแนวทางขัดแย้งกันเอง หรือคงอยู่เพียงชั่วคราว
บทความเกี่ยวกับสถาปนิกทั้ง 6 ไม่อาจครอบคลุมกระแสความคิดทางสถาปัตยกรรม หลังโมเดิร์นได้ครบถ้วน แต่น่าจะให้ภาพรวมได้ในระดับหนึ่ง โดยเริ่มต้นที่ หลุย คาห์น ผู้เป็นสถาปนิกในช่วงรอยต่อระหว่างโมเดิร์นตอนปลาย และโพสต์โมเดิร์น จนถึงมาร์คอส โนแวค ผู้นำสถาปัตยกรรมล้ำเข้าไปสู่โลกของไซเบอร์สเปซ อันไร้ตัวตนทางกายภาพ และท่ามกลางจุดเชื่อมต่อแห่งสหัสวรรษที่เพิ่งผ่านพ้นไป.

































วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ประวัติส่วนตัว



นางรสิตา วังเวง เกิดวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2516

โรงพยาบาลราชบุรี แผนก ไอซียู ศัลยกรรมรวม
จบพยาบาลเทคนิคจากวิทยาลัยบรมราชชนนี ราชบุรี เมื่อ พ.ศ.2537

แต่งงานแล้วสามีทำงานอยู่ บริษัทเกียรตินาคิน มีบุตร1คน
ชื่อน้องไข่มุก อายุ 3ปี 6เดือน เรียนอยู่อนุบาล1 โรงเรียนนารีวิทยา

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อาจารย์ผู้สอนสุนทรียศาสตร์


ตอบคำถาม


1.สุนทรียศาสตร์ ( Aesth etics ) คืออะไร ?สุนทรียศาสตร์ มาจากภาษาสันสฤตว่า “ สุนทรียะ ” แปลว่า “ งาม ” และ “ ศาสตร์ ” แปลว่า “ วิชา ” เมื่อรวมความแล้วจึงแปลได้ว่า “ วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Aesthetics” (เอ็ซเธทถิกส์) โดยศัพท์คำนี้เกิดจากนักปรัชญาเหตุผลนิยมชาวเยอรมันชื่อ โบมกาเต้น ( Alexander Gottlieb Baumgarten ) ซึ่งสร้างคำจากภาษากรีกคำว่า “Aisthetikos” (อีสเธทิโคส) แปลว่า “ รู้ได้ด้วยผัสสะ ”ความงามอาจเป็นสิ่งลึกซึ้งที่มีอยู่ในทุกสิ่ง อาจจะเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรืออาจจะเป็นคุณสมบัติในทางศีลธรรม หรือสิ่งที่โน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ปลาบปลื้ม ความงามอาจมีอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเอง ทั้งสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติศัพท์ Aesthetics ในภาษาอังกฤษกำหนดไว้ให้หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยศิลปะโดยทั่วไป อาจแบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้• ประวัติศาสตร์ศิลปะ ( History of Art )• ศิลปวิจารณ์ ( Criticism of Art )• ทฤษฎีศิลปะ ( Theory of Art )• จิตวิทยาศิลปะ ( Psychology of Art )• สังคมวิทยาศิลปะ ( Sociology of Art )• ปรัชญาศิลปะ ( Philosophy of Art )สุนทรียศาสตร์ความหมายของสุนทรีศาสตร์ เป็นคำตรงกับภาษาอังกฤษว่า “aesthetic” แปลว่าการศึกษาเรื่องความงาม หรือปรัชญาความงาม บางครั้งยังหมายถึงปรัชญาศิลปะซึ่งให้นิยามว่า “วิชาที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความงาม” บางคนเข้าใจว่าสองคำนี้ความหมายเหมือนกัน แต่เป็นการเข้าใจไม่ถูกต้องเพราะความงามไม่ได้มีเฉพาะในศิลปะเท่านั้น (Randall and others, 1970 : 279) ในภาษาไทยสุนทรียศาสตร์มาจากคำว่า “สุนทรีย” แปลว่า เกี่ยวกับความนิยมความงาม กับคำว่า “ศาสตร์” แปลว่า วิชา ดังนั้น สุนทรียศาสตร์จึงแปลว่า วิชาว่าด้วยความนิยมความงาม (พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 : 2525 : 84)วิชาสุนทรียศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับความงามซึ่งอาจเป็นความงามในธรรมชาติหรือความงามทางศิลปะก็ได้ เพราะในผลงานาทางศิลปะ เราถือว่าเป็นสิ่งที่ดีความงามอยู่ด้วยนอกจากนี้สุนทรียศาสตร์ยังศึกษาวิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของการรับรู้ความงาม วิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ของคุณลักษณะของความงาม คุณค่าของความงาม และรสนิยม วิชาที่ส่งเสริมให้สอบสวนและแสวงหาหลักเกณฑ์ของความงามสากลในลักษณะของรูปธรรมที่เห็นได้ชัด รับรู้ได้และชื่นชมได้ วิชาที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ตรงของบุคคล สร้างพฤติกรรม ความพอใจโดยไม่หวังผลตอบแทนในการปฏิบัติ เป็นความรู้สึกพอใจเฉพาะตน สามารถเผื่อแผ่เสนอแนะผู้อื่นให้มีอารมณ์ร่วมรู้สึกด้วยได้ วิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมตอบสนองของมนุษย์จากสิ่งเร้าภายนอกตามเงื่อนไขของสถานการณ์ เรื่องราวความเชื่อ และผลงานที่มนุษย์สร้าง

2.ประโยชน์และขอบข่ายของสุนทรียศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งความงามมีจุดหมายอยู่ที่การเปิดเผยและการจัดระเบียบ หลักการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันของความงาม สุนทรียศาสตร์มีวิธีการค้นหาความงาม อยู่ 2 อย่าง เรียกว่าวัตถุวิสัย และอัตตวิสัย

1. สุนทรียศาสตร์มีวิธีการเป็นวัตถุวิสัย เพราะสุนทรียศาตร์มุ่งพิจารณาวัตถุต่าง ๆ เช่น ภาพพิมพ์ ดนตรี เป็นต้น ในฐานะที่เป็นสิ่งที่สวยงาม สุนทรียศาสตร์ค้นหาคุณลักษณะทั่วไปที่สวยงามและคุณลักษณะอย่างอื่นของวัตถุเหล่านั้นด้วย

2. สุนทรียศาสตร์มีวิธีการเป็นอัตตวิสัย เพราะสุนทรียศาสตร์พยายามค้นหาความหมายของสิ่งที่เราเรียกว่าประสบการณ์ทางสุนทรียะของคนดู สุนทรียศาสตร์พยายามค้นหาความแตกต่างและความสัมพันธ์กันระหว่างประสบการณ์สุนทรียะและประสบการณ์อย่างอื่นจุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์เป็นแต่เพียงภาคทฤษฎีเท่านั้น มิใช่ภาคปฏิบัติและจุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์นี้ ก็เป็นแต่เพียงการสอนพวกเราเกี่ยวกับหลักการต่าง ๆ ของความงาม มิใช่ต้องการเพื่อที่จะสร้างพวกเราให้เป็นนักวาดเขียนหรือนักดนตรี เพราะว่ามีข้อแตกต่างกํนัระห่างความรู้เรื่องหลักการแห่งความงามและหลักการฝึกฝนภาคปฏบัติ ในการสร้างงานศิลปะ การสร้างงานศิลปะนั้นเรียกหาการฝึกฝนภาคปฏิบัติบางประการ และขึ้นอยู่กับสติปัญญาภายในของแต่ละบุคคล การศึกษาสุนทรียศาสตร์มิได้รับประกันว่าจะต้องให้การฝึกหัดและรูปแบบแก่พวกเรา ดังนั้นโดยจุดมุ่งหมายแล้วสุนทรียศาสตร์จึงเป็นเพียงภาคทฤษฎีเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลมีรูปแบบบางอย่างและการฝึกภาคปฏิบัติอยู่บ้างแล้ว การศึกษาสุนทรียศาสตร์ก็จะช่วยให้บุคคลเหล่านั้นได้พัฒนารูปแบบและการปฏิบัติจริงให้สำเร็จผลมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ประสิทธิภาคแห่งศิลปะภาคปฏิบัติจึงไม่ใช่ผลโดยตรงจากการศึกษาสุนทรียศาสตร์แต่การศึกษาสุนทรียศาสตร์อาจมีผลโดยทางอ้อมต่อความพยายามของมนุษย์ในการสร้างงานศิลป์สุนทรียศาสตร์มิได้เรียกร้องถึงขอบเขตอันสูงส่งในฐานะที่เป็นวิชาที่สืบค้นถึงเนื้อหาของมันเอง เพราะว่าวัตถุชนิดเดียวกันและเหมือนกัน อาจจะถูกศึกษาโดยประเด็นที่แตกต่างกัน เช่น ภาพเขียน นักเรขาคณิตอาจจะศึกษาจากแง่คิดในแง่ของเส้นของมุมต่าง ๆ นักวิทยาศาสตร์อาจจะศึกษาจากแง่คิดในเรื่องของเคมีซึ่งใช้ในการเขียนภาพเขียน นักจิตวิทยาอาจจะศึกษาจากแง่คิดแห่งองค์ประกอบทางจิตวิทยาต่าง ๆ ที่รับผิดชอบต่อการสร้างภาพเขียนแต่สุนทรียศาสตร์มีแง่คิดอันเด่นชัดเป็นของตนเอง สุนทรียศาสตร์พยายามค้นหาปรากฎการณ์ภายในต่าง ๆ ที่ภาพเขียนแต่ละชนิดจะพึงมีในใจของผู้ดู

3.สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลดังนี้พยาบาลมีหน้าที่ดูแลและให้การพยาบาลผู้ป่วย พยาบาลจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิชานี้ เพื่อช่วยส่งเสริมกระบวนการคิดและการตัดสินความงามอย่างมีเหตุผลและช่วยในการกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยนมองโลกในแง่ดี เพื่อเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ